ภาพแสดงตัวอย่างปริมาณผัก 1 ทัพพี
     กลุ่มพืชผัก 
     สำหรับกลุ่มนี้มีความสำคัญต่อเรื่องของโภชนาการในทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุยิ่งมองข้ามไม่ได้เลย และสำคัญลองมาจากกลุ่มแป้ง เนื่องจากกลุ่มนี้จะให้สารอาหารประเภทวิตามิน แร่ธาตุ รวมถึงกากใยอาหาร พืชผักจะให้พลังงานน้อยจึงทำให้ไม่อ้วน วิตามินหรือแร่ธาตุแม้ว่าร่างกายของเราจะไม่ต้องการปริมาณมาก แต่ก็ขาดไม่ได้เพราะจะทำให้กระบวนการทำงานของร่างกายผิดปกติได้ นอกจากนั้นการขับถ่ายถือว่าสำคัญมาก พืชผักจะช่วยทำให้ผู้สูงอายุถ่ายได้สะดวกขึ้น คือไม่มีการกักเก็บของเสียไว้ในร่างกายซึ่งเป็นโทษนั้นเอง
     - กลุ่มที่ 1 วันละ 4 ทัพพี
     - กลุ่มที่ 2 วันละ 4 ทัพพี 
     - กลุ่มที่ 3 วันละ 4 ทัพพี 
     เราจะเห็นได้ว่าพีชผักสำหรับผู้สูงอายุนั้นเราไม่มีการควบคุมมากนักเนื่องจากมีปริมาณแคลอรี่ที่ต่ำนั่นเอง
     กลุ่มผลไม้ 
     กลุ่มนี้จะเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องมีการควบคุมปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวัน เนื่องจากผลไม้จะมีสารอาหารประเภทแป้งหรือคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลสูง คือจะให้พลังงานสูง หากได้รับมากเกินไปจะทำให้ได้รับแคลอรี่มากเกินความจำเป็นและจะถูกเปลี่ยนไปเป็นไขมันเก็บสะสมไว้ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ผู้สูงอายุควรได้รับผลไม้เป็นส่วนๆ คือ
     - กลุ่มที่ 1 วันละ 1 ส่วน 
     - กลุ่มที่ 2 วันละ 2 ส่วน
     - กลุ่มที่ 3 วันละ 3 ส่วน 
ภาพแสดงผลไม้ 1 ส่วน ภาพจาก: https://themomentum.co/fruits-blood-sugar-level/content2-29/
     กลุ่มนมหรือผลิตภัณฑ์จากนม
     กลุ่มนี้จะมีสารอาหารที่สำคัญ เช่น โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต เคลเซียม ฟอสฟอรัส แต่เนื่องจากคนไทยมักจะมีปัญหาเรื่องของการย่อยนม ดังนั้นจึงอยู่ส่วนล่างๆ ของธงโภชนาการ คือ ควบคุมจำนวนเพียงเล็กน้อย 1-2 แก้ว (200 ซีซี./แก้ว) ควรเป็นนมขาดมันเนยหรือพร่อมมันเนย ไม่ปรุงรสหวาน หรือโยเกิร์ตชนิดข้น
ภาพแสดงแหล่งอาหารกลุ่มเนื้อสัตว์
     กลุ่มเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์
     กลุ่มนี้จะให้สารอาหารโปรตีน ไขมัน และแร่ธาตุ "ปลาให้โปรตีนชั้นเยี่ยม" ควรรับประทานบ่อยๆ เนื้อสัตว์ที่ดีควรไม่ติดมัน เช่น เนื้ออกไก่ เนื้อหมูไม่ติดมัน ลูกชิ้นปลา ไข่ เต้าหู้ ถั่วเมล็ดแห้ง ควรให้ผู้สูงอายุกินบ่อยๆ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ โดยพิจารณาให้ต่อวันดังนี้คือ
     - กลุ่มที่ 1 วันละ 6 ช้อนกินข้าว 
     - กลุ่มที่ 2 วันละ 7 ช้อนกินข้าว  
     - กลุ่มที่ 3 วันละ 8 ช้อนกินข้าว 
     *** กรณีที่ไม่ดื่มนม ให้เพิ่มโปรตีนอีก 2-3 ช้อนกินข้าว *** 
     กลุ่มไขมันและเครื่องปรุงรส
     สังเกตว่ากลุ่มนี้จะอยู่ปลายสุดของธงโภชนาการ เพื่อจะบอกว่าต้องใช้ให้น้อยที่สุดนั่นเอง เช่น น้ำตาลชนิดต่างๆ เกลือ น้ำมัน เพราะกลุ่มนี้จะให้พลังงานสูงมาก ควรใช้ประกอบอาหารในปริมาณน้อยๆ หลีกเลี่ยงอาหารทอด กะทิ อาหารหมักดองต่างๆ ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงทั้งสิ้น
ภาพแสดงสารอาหารกลุ่มไขมัน

การคัดกรองและการประเมินภาวะโภชนาการผู้สูงอายุ

     การคัดกรองภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุ เป็นขั้นตอนแรกในการค้นหาผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุพโชนาการ ประกอบด้วยวิธีต่อไปนี้
     
     1. การคัดกรองภาวะโภชนาการ สามารถประเมินได้จากสิ่งต่อไปนี้
        1.1 ประวัติการรับประทานอาหาร ประวัติการเปลี่ยนแปลงทั้งปริมาณและคุณภาพอาหารลดลงในช่วง 7 วัน การเปลี่ยนแปลงเวลาในการรับประทานอาหารโดยมีช่วงเวลารับประทานอาหารระหว่างมื้อห่างขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความต้องการอาหารของผู้สูงอายุลดลง ถือเป็นความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะขาดสารอาหารได้
     โดยสรุปแล้ว ในแต่ละวันผู้สูงอายุควรได้รับสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ โดยแต่ละหมู่ให้อิ้งข้อมุลจากธงโภชนาการเป็นหลัก และต้องมีความรู้เรื่องของพลังงานที่ควรได้รับในแต่ละวัน โดยแบ่งออกเป็น 3-4 มื้ออาหาร ตามสภาวะของผู้สูงอายุที่จะกินอาหารได้ หากได้รับสารอาหารเกินก็จะป่วยเป็นโรค หรือได้รับสารอาหาน้อยไปก็จะอ่อนแอและเจ็บป่วยได้เช่นกัน ซึ่งสามารถเกิดได้ในทุกๆ วัย แต่สำหรับผู้สูงอายุจะมีความเฉพาะเนื่องจากอยู่ในช่วงของการเสื่อมถอยของร่างกาย หากไม่ได้รับการดูแลเรื่องโภชนาการที่ดี จะเกิดปัญหาด้านสุขภาพตามมาอย่างรวดเร็วและแก้ไขได้ยาก ดังนั้นผู้ดูแลจึงต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ไว้เสมอ
เอกสารอ้างอิง:

ชนาธิป ไชยเหล็ก. 2018. ผลไม้กับตารางอาหารแลกเปลี่ยน รับมือระดับน้ำตาลใน
        เลือด. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2564, จาก. العاب كازينو مجانية 
        https://themomentum.co/fruits-blood-sugar-level/.
ชวิศา แก้วอนันต์. 2018.โภชนาการสำหรบผู้สูงอายุ. วรสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีส
        เทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 ประจำเดือน
        พฤษภาคม-สิงหาคม 2561, หน้า 112-119.
ดวงกมล วิรุฬห์อุดมผล และพรพิมล ภูมิฤทธิกุล. 2020. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์
        กับภาวะโภชนาการและการรู้คิดในผู้สูงอายุที่อาศัยในศูนย์
        พัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์
        มหาวิทยาลัยบูรพา. ปีที่ 28 ฉบับที่ 4 ประจำเดือน ตุลาคม-ธันวาคม 2563.
        หน้า 89-96.
วีรศักดิ์ เมืองไพศาล.2557. การจัดการภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ.พิมพ์ครั้งที่ 1.
        กรุงเทพ,ห้างหุ้นส่วนจำกัด การพิมพ์.
ไอศวรรย์ เพชรล่อเหลียน. جدول سباق الخيل  2563. 3 ความเชื่อเกี่ยวกับการบริโภคอาหารในผู้สูง
        อายุ. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2564, จาก.
        https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/3-ความเชื่อเกี่ยวกับ
        การบ/. 

หน้า: 1 2 3 4

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *